ขนมหวานวิถีชาวบ้าน จาวตาลเชื่อม รักษาโรคนิ่วได้
ขนมหวานวิถีชาวบ้าน จาวตาลเชื่อม ขนมจาวตาลเชื่อม
การขัดเมือกของจาวตาล ด้วยการใช้ฟางในการขัด จะช่วย ขัดเมือกของจาวตาล ได้ดี
การล้างจาวตาล ด้วย สารส้มจะช่วยให้จาวตาลสะอาด และต้องล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด ไม่ให้เหลือสารส้ม
ต้องตัดส่วนของ รากจาวตาล ออก เนื่องจากส่วนนั้นจะแข็ง
น้ำลอยดอกมะลิ ให้ใส่สุดท้าย เพื่อเพิ่ม ความหอมของจาวตาลเชื่อม
ส่วนผสม
จาวตาลสด 7 กิดลกรัม
น้ำตาล 4 กิโลกรัม
น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
วิธีทำ
ล้าง จาวตาล ให้ล้างให้สะอาด
ต้มน้ำให้เดือน นำ จาวตาล ลงไปต้ม ประมาณ 15 นาที จากนั้นใส่น้ำตาลลงไป
ต้มต่อให้เป็นน้ำเชื่อม เติมน้ำลอยดอกมะลิลงไปด้วย จากนั้นก็ต้มเชื่อมจาวตาลต่อ 20 นาที สังเกตุให้ลูกตาลเหลืองนุ่ม
เนื้อลูกตาล มีสารอาหารที่มีประโยชน์หลากหลาย
– คาร์โบไฮเดรต กินแล้วให้พลังงานที่ดีต่อร่างกาย พร้อมมีไฟเบอร์ที่ทำให้อิ่มนาน และช่วยในการขับถ่ายที่ดี ป้องกันท้องผูก
– แคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้แข็งแรง และช่วยในการทำงานของร่างกายที่เป็นปกติ
– เหล็ก ช่วยในการบำรุงเลือด และการหมุนเวียนของเลือด
– วิตามินซี สารอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้ป่วยบ่อย และข่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส
สรรพคุณทางยาของของลูกตาล
มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร รับประทานเพื่อช่วยละลายเสมหะในลำคอ บรรเทาอาการไอ ไอเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ และช่วยแก้ไข ลดความร้อนในร่างกาย
ต้นตาลโตนด (Palmyra Palm) เป็นไม้ในตะกูลเดียวกันกับปาล์ม และมะพร้าว จัดเป็นไม้ชนิดให้ผลที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค มีประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ ลูกตาลอ่อน น้ำตาลสด ผลแก่ใช้ทำขนมตาล แก่นไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
– ภาคกลาง และทั่วไป เรียก ต้นตาลโตนด, ต้นตาล
– ภาคใต้ เรียก ตาลโตนด หรือ ต้นโตนด
– ยะลา และปัตตานี เรียก ปอเก๊าะตา
ประวัติต้นตาล
ต้นตาลโตนดเป็นพืชในตระกูลปาล์ม มีการสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา ต่อได้มีการกระจายพันธุ์มาทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และแพร่มาสู่แถบประเทศเอเชียอาคเนย์ รวมถึงประเทศไทยที่น่าจะเริ่มการปลูกครั้งแรกบริเวณแถบจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะเมืองท่าที่มีการค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยนั้น
พบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดที่เก่าแก่ในคัมภีร์พระพุทธประวัติที่ปรากฏคำว่า “ตาล” หรือ “ตาละ” ที่หมายถึงต้นตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ลัฏฐิวนอุทยาน (ลัฏฐตาล) ในพรรษาที่สองหลังจากตรัสรู้ เพื่อโปรดพระเจ้าพระพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวาร ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงดำรัสว่า ป่าไผ่นั้นร่วมเย็นดีกว่าป่าตาล นอกจากนั้นในพุทธประวัติยังมีช่วงหนึ่งที่กล่าวถึง พระวินัยที่ทรงห้ามนำผลไม้หรือพืช 10 ชนิด ใช้ทำน้ำอัฐบาน เพราะเป็นผลไม้ที่ห้ามรับประทานหลังเที่ยงแล้ว ซึ่ง 1 ใน 10 เป็นลูกตาลด้วย
ประวัติต้นตาลโตนดที่พบบัทึกในประเทศไทยนั้นเริ่มพบหลักฐานในสมัยทวราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ที่มีการใช้ตราประทับรูปคนปีนตาล นอกจากนั้น มีการพบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงในช่วงหนึ่งที่แปลได้ว่า ในปีมะโรง ศกที่ 1214 พ่อขุนรามคำแหงขณะพระชนมายุ 14 พรรษา ได้ทรงปลูกไม้ตาลไว้กลางเมืองสุโขทัย